วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

ด้วงกว่าง

             
         ด้วงกว่าง มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากแมลงปีกแข็งจำพวกอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ ตัวผู้มีขนาดที่ใหญ่ แลดูบึกบึน มีปีกที่พัฒนาเป็นเปลือกแข็ง 1 คู่หุ้มลำตัวด้านบนที่นูนอยู่เหมือนสวมชุดเกราะ มีสีดำคล้ำหรือน้ำตาลเข้มที่เงางาม ขณะที่บางชนิดอาจมีสีอ่อนกว่าหรือแม้กระทั่งสีทองก็มี มีจุดเด่นที่เห็นได้ชัด คือ มีอวัยวะบริเวณส่วนหัวที่งอกยาวออกมาคล้ายเขาจำนวนอย่างน้อย 1 คู่ อยู่ด้านบนและด้านล่างของส่วนหัว ซึ่งจะมีจำนวนและลักษณะสั้น-ยาวแตกต่างกันออกไปตามสกุลและชนิด ซึ่งพบมากที่สุดได้ถึง 5 เขา ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา หรือมีแต่สั้นกว่ามาก มีผิวลำตัวที่ขรุขระหยาบและมีขีดร่องหรือเรียบกว่า จุดแทง ที่ส่วนปีกแข็งมาก ตามลำตัวในบางชนิดมีขนอ่อนคล้ายกำมะหยี่สีเหลืองหรือสีน้ำตาลปกคลุมอยู่บริเวณใต้ท้องทั้งตัวผู้และตัวเมีย ขาคู่หน้ามีช่องที่อยู่ในแนวขวางสามารถบิดขยับได้ มีหนวดเป็นรูปใบไม้

ปลาหางนกยูง

         ปลาหางนกยูง  เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาสอด เป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดเล็ก มีความยาวเต็มที่ไม่เกิน 5 นิ้ว มีจุดเด่นคือครีบหางที่มีขนาดใหญ่ ตัวผู้และตัวเมียมีความแตกต่างกันจนเห็นได้ชัด กล่าวคือ ตัวผู้มีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามาก แต่มีสีสันและครีบที่สวยงามกว่า ขณะที่ตัวเมียตัวใหญ่กว่า ท้องอูม สีสันและครีบเครื่องเล็กกว่า

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2558

นกเลิฟเบิร์ด




นกเลิฟเบิร์ด สกุลของนกปากขอ หรือนกแก้วขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Agapornis 

นกเลิฟเบิร์ดเป็นนกปากขอขนาดเล็ก ที่มีสีสันสดใส มีความยาวเต็มที่ประมาณ 5-6 นิ้ว โดยมีถิ่นกำเนิดในทวีปอัฟริกาฝั่งตะวันออก และเกาะมาดากัสการ์ซึ่งเป็นแถบที่อบอุ่นถึงค่อนข้างร้อน มีอายุขัยประมาณ 10-15 ปี นกเลิฟเบิร์ดมีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์และเลือกคู่ได้แล้วจะอยู่กับคู่ของตัวเองไปตราบจนตาย อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ
นกเลิฟเบิร์ดก็เหมือนกับนกในอันดับนี้ส่วนใหญ่ ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง ประวัติของการเลี้ยงนกเลิฟเบิร์ด ในสมัยแรกเริ่มคือช่วงปี ค.ศ. 1840 นกเลิฟเบิร์ดถูกเรียกว่า "Little parrot" (นกแก้วเล็ก) ตามประวัติกล่าวว่าชาวแอฟริกันเป็นผู้นำเข้าไปแพร่หลายในทวีปยุโรป และด้วยเอกลักษณ์ของนกสกุลนี้ก็คือ ชอบอยู่เป็นคู่ และจะดูแลกันและกันเป็นอย่างดี จึงได้รับการเรียกขานว่านกเลิฟเบิร์ดในที่สุด
ต่อมา นกเลิฟเบิร์ดก็แพร่ขยายไปในสหรัฐอเมริกาในศตวรรษที่ 60 เมื่อมีการได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จึงเกิดการเพาะขยายพันธุ์อย่างกว้างขวางจนเกิดการกลายพันธุ์ เป็นสายพันธุ์ใหม่ ๆ ขึ้นมา จนในช่วงศตวรรษที่ 80 การเลี้ยงนกเลิฟเบิร์ดมีจุดมุ่งหมายก็เพื่อให้ได้สีสันใหม่ ๆ ที่สวยงามขึ้น และเป็นการพัฒนาสายพันธุ์ รวมทั้งมีการผสมกับนกสายพันธุ์อื่น ๆ อีกด้วยจนปัจจุบันนกเลิฟเบิร์ด ได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงที่มนุษย์รู้จักและคุ้นเคยเป็นอย่างดี

ปลากัด

ปลากัด หรือ ปลากัดภาคกลาง (อังกฤษSiamese fighting fishชื่อวิทยาศาสตร์Betta splendens) เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Macropodinae ซึ่งอยู่ในวงศ์ใหญ่ Osphronemidaeมีรูปร่างเพรียวยาวและแบนข้าง หัวมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวจรดครีบหาง หางแบนกลม มีอวัยวะช่วยหายใจบนผิวน้ำได้โดยใช้ปากฮุบอากาศโดยไม่ต้องผ่านเหงือกเหมือนปลาทั่วไป เกล็ดสากเป็นแบบทีนอยด์ ปกคลุมจนถึงหัว ริมฝีปากหนา ตาโต ครีบอกคู่แรกยาวใช้สำหรับสัมผัส ปลาตัวผู้มีสีน้ำตาลเหลือบแดงและน้ำเงินหรือเขียว ครีบสีแดงและมีแถบสีเหลืองประ ในขณะที่ปลาตัวเมียสีจะซีดอ่อนและมีขนาดลำตัวที่เล็กกว่ามากจนเห็นได้ชัด
ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 6 เซนติเมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในแหล่งน้ำนิ่งที่มีขนาดตื้นพื้นที่เล็กทั้งในภาคกลางและภาคเหนือในประเทศไทยเท่านั้น สถานะปัจจุบันในธรรมชาติถูกคุกคามจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและสารเคมีที่ตกค้าง
มีพฤติกรรมชอบอยู่ตัวเดียวในอาณาบริเวณแคบ ๆ เพราะดุร้ายก้าวร้าวมากในปลาชนิดเดียวกัน ตัวผู้เมื่อพบกันจะพองตัว พองเหงือก เบ่งสีเข้ากัดกัน ซึ่งในบางครั้งอาจกัดได้จนถึงตาย เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้จะเป็นฝ่ายก่อหวอดติดกับวัสดุต่าง ๆ เหนือผิวน้ำ ไข่ใช้เวลาฟัก 2 วัน โดยที่ปลาตัวผู้จะเป็นฝ่ายดูแลไข่และตัวอ่อนเอง โดยไม่ให้ปลาตัวเมียเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

นกหงส์หยก

นกหงส์หยก  เป็นนกปากขอขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ที่มีลวดลายและสีสันที่สวยงาม ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของนกหงส์หยกอยู่ตามแถบทุ่งหญ้าในประเทศออสเตรเลีย มีชื่อเรียกเล่น ๆ ว่า "บั๊ดจี้" (Budgie) หรือ "พาราคีท" (Parakeet) ครั้งหนึ่ง ผู้คนทั่วไปเคยเข้าใจว่านกหงส์หยกเป็นนกที่อยู่ในจำพวกนกเลิฟเบิร์ด แต่ในปัจจุบันได้ยอมรับกันแล้วว่าเป็นนกคนละจำพวกกัน โดยผู้ที่ทำการอนุกรมวิธาน คือ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ จอห์น กูลด์ ที่เข้าไปศึกษาธรรมชาติวิทยาที่ออสเตรเลียเมื่อกว่า 100 ปีมาแล้ว Melopsittacus
 โดยถือเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล
โดยทั่วไปแล้วสีตามธรรมชาติ นกหงส์หยกมักมีขนสีเขียว, ฟ้า, เหลือง และขาว แต่ปัจจุบันได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีความหลากหลายออกไปจากสีดั้งเดิมตามธรรมชาติในฐานะของการเป็นสัตว์เลี้ยง โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามลักษณะ อาทิ "โอแพล์ลิน", "อัลบิโนส์" และ"ลูติโนส์"

นกกรงหัวจุก


              
           นกกรงหัวจุก ซึ่งเป็นสกุลของนกปรอดสวน เป็นสัตว์คุ้มครองประเภทนกที่เพาะพันธุ์ได้ พบอาศัยอยู่ตั้งแต่ละแวกบ้านไปจนถึงบนยอดดอยสูงและตามป่าที่ราบต่ำ มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๓๖ ชนิด นกมีถิ่นอาศัยอยู่แถบเอเชียในกลุ่มประเทศที่มีอุณหภูมิร้อนชื้นสูง เช่น จีน อินเดีย อินโดฯ สิงคโปร์ ลาว กัมพูชา และไทย พบเห็นได้ทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะนกปรอดหัวโขนเคราแดง

ที่มา: http://siriwutsotomad.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

นกแก้ว



นกแก้ว หรือ นกปากขอ อันดับของนกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Psittaciformes
                เป็นนกที่มีความแตกต่างกันมากทางสรีระ คือมีตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงใหญ่ (19-100 เซนติเมตร) มีหัวกลมโต ลำตัวมีขนอุยปกคลุมหนาแน่น ขนมีแกนขนรอง ต่อมน้ำมันมีลักษณะเป็นพุ่มขนผิวหนังค่อนข้างหนา มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากนกอันดับอื่น ๆ คือ จะงอยปากที่สั้นหนา และทรวดทรงงอเป็นตะขอหุ้มปากล่าง มีความคมและแข็งแรง อันเป็นที่ของชื่อสามัญ ใช้สำหรับกัดแทะอาหารและช่วยในการปีนป่าย เช่นเดียวกับกรงเล็บ[2] รูจมูกไม่ทะลุถึงกัน สันปากบนหนาหยาบและแข็งทื่อ ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนกลางปีกมี 8-14 เส้น ไม่มีขนกลางปีกเส้นที่ 5 ขนหางมี 12-14 เส้น หน้าแข้งสั้นกว่าความยาวของนิ้วที่ยาวที่สุด แข้งปกคลุมด้วยเกล็ดชนิดเกล็ดร่างแห นิ้วมีการจัดเรียงแบบนิ้วคู่สลับกัน คือ เหยียดไปข้างหน้า 2 นิ้ว (นิ้วที่ 2 และ 3) และเหยียดไปข้างหลัง 2 นิ้ว (นิ้วที่ 1 และนิ้วที่ 4) ซึ่งนิ้วที่ 4 สามารถหมุนไปข้างหน้าได้
เป็นนกที่อาศัยและหากินบนต้นไม้ กินผลไม้และเมล็ดพืช บินได้ดีและบินได้เร็ว พบอาศัยอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูง ทำรังตามโพรงต้นไม้ ไข่สีขาว ลักษณะทรงกลม วางไข่ครั้งละ 2-6 ฟอง ลูกนกแรกเกิดมีสภาพเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ พบกระจายพันธุ์ตามเขตร้อนทั่วโลก ในบางชนิดมีอายุยืนได้ถึง 50 ปี โดยเฉพาะนกแก้วชนิดที่มีขนาดใหญ่ และจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า นกแก้วขนาดใหญ่มีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ากับเด็กอายุ 4 ขวบ
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%A7

ปลาทอง

ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง (อังกฤษGoldfish) เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น โดยดั้งเดิมถือเป็นปลาที่ถูกนำมาบริโภคกันเป็นอาหาร ต่อมาได้ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี จนกลายเป็นปลาสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ในปัจจุบัน
โดยปลาทองเชื่อว่า เป็นปลาสวยงามชนิดแรกที่มนุษย์เลี้ยง จากหลักฐานที่ปรากฏไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เป็นรูปสลักปลาทองหลากหลายสีว่ายรวมกันอยู่ในบ่อที่ประเทศจีน ถือเป็นประเทศแรกที่เลี้ยงปลาทอง แต่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้พัฒนาสายพันธุ์ปลาทองให้มีความสวยงามและหลากหลายมาจนปัจจุบัน โดยเมืองแรกที่ทำการเลี้ยง คือ ซะไก ในจังหวัดโอซะกะ ในราวปี ค.ศ. 1502-ค.ศ. 1503 แต่กลายมาเป็นที่นิยมเมื่อเวลาต่อมาอีกราว 100 ปี ถึงขนาดมีร้านขายปลาทองเปิดกันเป็นจำนวนมาก
ปลาทองมีรูปร่างอ้วน ป้อม มีเกล็ดแบบบางเรียบ ครีบอกกลมแบน ครีบหางเป็นรูปพัด เป็นปลากินพืช และแมลงน้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร เป็นปลาที่ตะกละสามารถกินอาหารได้ตลอดทั้งวัน ตัวผู้เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จะมีตุ่มสิวขึ้นตามครีบอกและใบหน้า ปลาตัวท้องช่องท้องจะอูมเป่งออก วางไข่ตามพืชน้ำ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 วัน
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%87

ปลาแฟนซีคาร์ป

เป็นปลาคาร์ปที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาจากปลาคาร์ปธรรมดา ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่นำมารับประทานกันเป็นอาหาร เพื่อการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเริ่มต้นขึ้นในราว ค.ศ. 200-ค.ศ. 300โดยปลาคาร์ปต้นสายพันธุ์นั้นมีเพียง 3 สีเท่านั้น คือ แดงขาว และน้ำเงิน มีบันทึกว่าปลาคาร์ปบางตัวได้พัฒนาตัวเองมาเป็นสีส้ม ดังนั้นชาวจีนจึงนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อเป็นความเป็นสิริมงคล
จากนั้นจึงได้เดินทางเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น บริเวณหมู่บ้านเชิงเขาที่ชื่อ ตาเกซาว่า, ฮิกาชิยามาโอตะ, ตาเนอุฮาร่า และกามากาชิมา โดยชาวบ้านที่หมู่บ้านเหล่านี้ได้นำปลาคาร์ปมาเลี้ยงเพื่อเป็นอาหารในยามฤดูหนาวหรือช่วงที่อาหารขาดแคลน จากนั้นในศตวรรษที่ 18 ที่เมืองเอจิโกะ ในจังหวัดนีงะตะ ได้บังเอิญเกิดมีปลาคาร์ปตัวหนึ่งซึ่งเป็นสีขาวและสีแดงตลอดทั้งตัวเกิดขึ้นมา สันนิษฐานว่าเป็นการผ่าเหล่า เกิดจากการผสมพันธุ์กันเองภายในสายเลือดใกล้ชิดกัน ซึ่งนำไปสู่การเพาะพันธุ์จนมาได้ ปลาที่มีลักษณะสีขาวสลับแดงในสายพันธุ์ที่มีชื่อว่า "โคฮากุ" (紅白) ขึ้นมาจนถึงในปัจจุบัน
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9B

เม่นแคระ

            
           เม่นแคระเป็นสัตว์สันโดษ หากินตัวเดียวในตอนกลางคืน กลางวันนอน มีนิสัยชอบอยู่ตัวเดียว หวงอาณาเขต บริเวณหากินของตัวเอง ดังนั้นไม่แนะนำให้เลี้ยงเม่นแคระมากกว่า 1 ตัวในพื้นที่เลี้ยงเดียวกัน เพราะอาจเป็นสาเหตุให้เม่นแคระต่อสู้ กัดกัน เพื่อแย่งชิงอาณาเขตบริเวณในการหาอาหาร แนะนำให้เลี้ยงแยกกันโดยเด็ดขาด อาจจับรวมกันได้บ้าง กรณีต้องการจับคู่ผสมพันธุ์เมื่อเม่นแคระอยู่ในวัยที่เหมาะสม คือช่วงอายุประมาณ 5 เดือนขึ้นไป

เม่นแคระเป็นสัตว์ขี้ระแวง ชอบหลบซ่อนตัวในตอนกลางวัน ถ้ามีอะไรผิดปกติหรือไม่คุ้นเคย เม่นแคระมักจะซุกตัวหาที่ซ่อน หรือขดตัวม้วนกลม เก็บขา หน้าตา และทำหนามตั้งชันขึ้น เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองจากอันตราย แต่หากเม่นแคระได้กลิ่นแปลกๆจากวัตถุ สิ่งของต่างๆ เม่นแคระมักจะกัดและเคี้ยววัตถุสิ่งของดังกล่าวจนเกิดเป็นฟองน้ำลาย แล้วนำฟองน้ำลายดังกล่าวมาแปะติดไว้ตามตัว เพื่อจดจำกลิ่นดังกล่าว หรือปรับตัวเองให้มีกลิ่นเหมือนสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นลักษณะนิสัยตามปรกติของเม่นแคระทุกๆตัว ดังนั้นควรระมัดระวัง และหาทางป้องกันไม่ให้เม่นได้รับอันตรายจากพฤติกรรมนี้ ด้วยการไปกัด เคี้ยววัตถุที่มีพิษ จนอาจทำให้ได้รับสารพิษดังกล่าวเข้าสู่ร่างกายและเสียชีวิตได้ อีกอย่างผู้เลี้ยงเม่นแคระใหม่ๆ ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมนี้ จะได้ไม่ตกใจจนเกินเหตุ เมื่อเห็นเม่นแคระแสดงพฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นนี้ เช่น ตอนเปลี่ยนอาหารแมวรสใหม่ให้เม่นแคระ หรือการที่เปลี่ยนถ้วยอาหาร หรืออุปกรณ์ใหม่ๆเข้าไปในพื้นที่
การเลี้ยงดู
     ที่มา:http://pets.thaipetonline.com/about-hedgehogs-behaviour.html

หมาจิ้งจอกเฟนเนก

หมาจิ้งจอกเฟนเนก หรือ หมาจิ้งจอกทะเลทราย (อังกฤษFennec fox, Desert fox) เป็นหมาจิ้งจอกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Vulpes zerda อยู่ในวงศ์สุนัข (Canidae)
หมาจิ้งจอกเฟนเนกเป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็ก ถือได้ว่าเป็นสัตว์ในวงศ์สุนัขที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก เนื่องจากขนาดเมื่อโตเต็มที่แล้ว มีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 1.75 กิโลกรัมสำหรับตัวผู้ และ 1.25 กิโลกรัมสำหรับตัวเมีย ซึ่งถือได้ว่าเล็กกว่าสุนัขบ้านเสียอีก นับได้ว่ามีขนาดน้ำหนักตัวใกล้เคียงกับชิวาวา ซึ่งเป็นสุนัขขนาดเล็ก และมีความยาวลำตัวประมาณ 24-40 เซนติเมตร มีความยาวหาง 8 นิ้ว
มีขนสีน้ำตาลเหลืองตลอดทั้งตัว ดวงตาสีดำ มีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดเจนคือ ใบหูที่ยาวมาก บางตัวอาจยาวได้ถึง 15 เซนติเมตร คล้ายกับหมาจิ้งจอกหูค้างคาว ซึ่งถือได้ว่าเป็นหมาจิ้งจอกขนาดเล็กเช่นกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า
หมาจิ้งจอกเฟนเนกมีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกา โดยอาศัยอยู่ในทะเลทราย มีพฤติกรรมรวมกันเป็นฝูงขนาดเล็ก หากินในเวลากลางคืน โดยมีอาหารหลักคือ แมลงชนิดต่าง ๆ ด้วยการขุดคุ้ยจากการฟังเสียงจากใบหูที่มีขนาดใหญ่ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถกินสัตว์ที่มีขนาดเล็ก, ไข่นก และผลไม้ได้อีกด้วย กระนั้นหมาจิ้งจอกเฟนเนกก็ยังตกเป็นเหยื่อของสัตว์กินเนื้อที่มีขนาดใหญ่กว่าได้อีกด้วย แต่ด้วยสภาพร่างกายที่เหมาะกับการอาศัยอยู่ในทะเลทราย ทำให้สามารถเอาตัวรอดได้ โดยขนที่อุ้งเท้าจะหนาสำหรับใช้เดินบนพื้นทรายที่ร้อนระอุได้ ขนสีน้ำตาลเหมือนสีของทรายของช่วยให้อำพรางตัวได้ในทะเลทราย นอกจากนี้แล้วยังหนาต่างจากสัตว์ที่อยู่ในทะเลทรายจำพวกอื่น ๆ โดยขนจะทำหน้าที่สะท้อนความร้อนจากแสงแดดในเวลากลางวันออกไป ส่วนตอนกลางคืนก็ทำหน้าที่สะสมความอบอุ่นไว้เพื่อต่อสู้กับความหนาวเย็น เนื่องจากเป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคึน[2] ขยายพันธุ์ด้วยการตั้งท้องนานครั้งละ 2 เดือน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 9 เดือน โดยจะตกลูกปี​ละ​ครั้ง ​เป็น​สัตว์​ที่​มี​คู่​ตัว​เดียว​ตลอด​ชีวิต ตัวผู้​จะ​ดุร้าย​และ​หวง​คู่ อีก​ทั้ง​ทำ​หน้าที่​คอย​หา​อาหาร​ให้​ตัวเมีย​ตลอด​เวลา​ช่วง​ที่​ตั้ง​ท้อง​และ​ให้​นม ตกลูกครั้งละ 2-4 ตัว
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%81

ชินชิล่า

         ชินชิล่า เป็นสัตว์เลี้ยงเมืองหนาว อยู่ในสัตว์จำพวกฟันแทะ ชินชิล่า เป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน รักสงบ มีถิ่นอาศัยดั้งเดิมอยู่บริเวณที่ราบสูงในทวีปอเมริกาใต้ แถบเทือกเขาคีรีมอนจาโร ประเทศอาร์เจนติน่า บราซิล และชิลี ลักษณะเฉพาะของเจ้าหนู ชินชิล่า คือมีนิสัยซุกซน อยากรู้อยากเห็น เป็นหนูสะอาดไม่มีกลิ่นตัว ชอบกระโดดสูง  ๆ ขาหน้าสั้น สามารถใช้จับและแกะเปลือกอาหารได้ มีใบหูที่เป็นเอกลักษณ์ หางเป็นพวงและชอบยืน 2  ขา อีกด้วย
   ที่มา:http://pet.kapook.com/view4662.html

แมว

แมว หรือ แมวบ้าน  เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในตระกูล Felidae ต้นตระกูลมาจากเสือไซบีเรีย (Felis tigris altaica) ซึ่งมีช่วงลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 4 เมตร แมวที่เลี้ยงตามบ้าน จะมีรูปร่างขนาดเล็ก ขนาดลำตัวยาว ช่วงขาสั้นและจัดอยู่ในกลุ่มของประเภทสัตว์กินเนื้อ มีเขี้ยวและเล็บแหลมคมสามารถหดซ่อนเล็บได้เช่นเดียวกับเสือ สืบสายเลือดมาจากแมวป่าที่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งลักษณะบางอย่างของแมวยังคงพบเห็นได้ในแมวบ้านปัจจุบัน
แมวเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่เมื่อประมาณ 9,500 ปีก่อน  ซึ่งจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของแมวคือการทำมัมมี่แมวที่พบในสมัยอียิปต์โบราณ หรือในพิพิธภัณฑ์อังกฤษในกรุงลอนดอน มีการแสดงสมบัติที่นำออกมาจากพีระมิดโบราณแห่งอียิปต์ ซึ่งรวมถึงมัมมี่แมวหลายตัว ซึ่งเมื่อนำเอาผ้าพันมัมมี่ออกก็พบว่า แมวในสมัยโบราณทุกตัวมีลักษณะใกล้เคียงกัน คือเป็นแมวที่มีรูปร่างเล็ก ขนสั้นมีแต้มสีน้ำตาล มีความคล้ายคลึงกับพันธุ์ในปัจจุบัน ที่เรียกว่าแมวอะบิสซิเนีย
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%A7

กระต่าย

          


    กระต่าย:เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก มีขนปุกปุยทั่วลำตัว มีหางกลมสั้น มีใบหูยาวเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น ซึ่งวิวัฒนาการมาใช้สำหรับฟังเสียงได้เป็นอย่างดี และยังมีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นที่ดีมาก กระต่ายมีขาหน้าที่มี 5 นิ้ว ขาหลังมี 4 นิ้ว มีสะโพกที่ยาวและทรงพลัง เต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ จึงสามารถกระโดดได้เป็นอย่างดี เคยมีการประกวดการกระโดดของกระต่ายที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ กระต่ายตัวที่กระโดดได้สูงที่สุดกระโดดได้สูงถึง 99.5 เซนติเมตรเลยทีเดียว ใต้ฝ่าตีนของกระต่ายมีขนนุ่ม ๆ รองรับอยู่ เพื่อมิให้เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว กระต่ายเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่ายและมีความว่องไวปราดเปรียวมากในการระแวดระวังภัย นอกจากนี้แล้วตาของกระต่ายยังมีหนังตาหรือเปลือกตาถึง 3 ชั้นด้วยกัน ดวงตาของกระต่ายมีลักษณะกลมโต ทำให้กระต่ายสามารถเหลือบมองภาพด้านหลังได้โดยที่ไม่ต้องหันหัวเลย กระต่ายจัดเป็นสัตว์ที่มีระบบการมองเห็นที่ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ มาก แต่กระต่ายสามารถมองเห็นสีได้เพียงแค่ 2 สีเท่านั้น คือ สีเขียวและสีน้ำเงิน และจะยิ่งมองได้ชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืด 
    ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2

สุนัข

หมา หรือภาษาทางการว่า สุนัข เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ออกลูกเป็นตัว ลำตัวมีขนปกคลุม มีเขี้ยว 2 คู่ เท้าหน้ามี 5 นิ้ว เท้าหลังมี 4 นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของสุนัขตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน 1 ชิ้น สุนัขที่ยังคงเป็นสัตว์ป่า เช่น หมาในสุนัขที่เลี้ยงเป็นสัตว์บ้าน คือ ชนิด Canis lupus familiaris สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายพันธุ์ เช่น ลาบราดอร์โกลเดินริทรีฟเวอร์ชิวาวา และอีกมากมาย มีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ ดุและไม่ดุ พันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น โกลเด้น ลาบราดอร์ ที่มีขนาดเล็ก เช่น ชิวาวา ชิสุ ส่วนที่ดุ ได้แก่ ร็อดไวเลอร์ อัลเซเชียน สุนัขแต่ละพันธุ์จะมีนิสัยแตกต่างกัน
สุนัขพัฒนามาจากสัตว์กินเนื้อและล่าเหยื่อ ดังนั้นวิวัฒนาการของฟันสำหรับเคี้ยวเนื้อและกระดูกจึงยังคงมีอยู่ รวมทั้งการมีประสาทดมกลิ่นและตามล่าเหยื่อที่ดีมาก นอกจากนี้สุนัขยังมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงทำให้วิ่งได้เร็วและเร่งความเร็วได้เท่าที่ต้องการ ลักษณะการเดินของสุนัขจะทิ้งน้ำหนักตัวบนนิ้วเท้า ซึ่งส่งผลให้สุนัขเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่วกว่าสัตว์ชนิดอื่น นอกจากนี้สุนัขยังมีสัญชาตญาณในการทำงานเป็นกลุ่ม ดังนั้นสุนัขจึงสามารถล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2

หนูเจอร์บัว

  
อียิปต์ เกรทเทอร์ เจอร์บัว (Greater Egyptian Jerboa) เรียกชื่อสั้นๆว่า เกรทเทอร์ เจอร์บัว ผู้ขายหลายคนรู้จักกันในชื่อนี้ ส่วนผู้เลี้ยงจะเรียกชื่อแค่ว่า “เจอร์บัว” เจ้าตัวเล็กนี้เป็นสัตว์ตระกูลฟันแทะแห่งท้องทะเลทราย และด้วยลักษณะการกระโดดคล้ายกับจิงโจ้ จึงมีบางคนให้สมญานามว่า Jumping Mouse มีถิ่นกำเนิดอาศัยอยู่ในทะเลทรายประเทศอียิปต์ แอฟริกาใต้ และยาวไปจนถึงทวีปเอเชียในแถบทะเลทรายโกบี มองโกเลีย
       
       จิงโจ้น้อยแห่งทะเลทราย
       หนูเจอร์บัว เป็นสัตว์ทะเลทรายทนแล้ง หน้าตาดูคล้ายกับหนูผสมจิงโจ้แต่ตัวเล็กกว่ามาก มีขนสีน้ำตาลเหมือนหนูทั่วไป จุดเด่นสำคัญ คือลักษณะของขาหลังที่ยาวกว่าขาหน้าเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่และบังคับทิศทางด้วยพู่หางที่สวยงาม มีหางที่ยาวใหญ่เมื่อเทียบกับตัวของมันเองซึ่งเล็กกว่ามาก เวลายืนจะใช้การเกร็งหางเสมือนเป็นขาที่สามในการช่วยทรงตัว เมื่อโตเต็มที่มีขนาดความยาวรวมหาง 150-162 มิลลิเมตร และมีน้ำหนักตัวประมาณ 24-38 กรัม

ที่มา:http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000087296

หนูตะเภา

                                                                     หนูตะเภา
หนูตะเภา :เป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทฟันแทะ ชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้ แถบประเทศเปรู เป็นสัตว์เลี้ยง และสัตว์ทดลองที่ได้รับความนิยม
ในประเทศไทย ยังนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนูแกสบี โดยมักใช้กับสายพันธุ์สัตว์เลี้ยงจากต่างประเทศที่ได้รับการพัฒนา มีลักษณะภายนอกแตกต่างจากหนูตะเภาทั่วไปที่มีในประเทศไทย ไม่ปรากฏการใช้ชื่อนี้ในภาษาอื่น
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%B2

แฮมสเตอร์



แฮมสเตอร์  เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กจำพวกหนึ่ง ในอันดับสัตว์ฟันแทะ 
                     ปัจจุบัน แฮมสเตอร์และแฮมสเตอร์แคระเป็นที่นิยมอย่างมากในการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงไปทั่วโลก แฮมสเตอร์สามารถกินอาหารได้หลากหลาย โดยเฉพาะเมล็ดพืช เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน เป็นต้น แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่ชอบออกกำลังกายมาก ในแต่ละวัน ผู้เลี้ยงอาจจะหาลูกบอลกลมหรือกงล้อให้วิ่ง ซึ่งในแต่ละคืน แฮมสเตอร์สามารถวิ่งได้ไกลถึง 30 ไมล์ แฮมสเตอร์เป็นสัตว์ที่แพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้เพียง 2 เดือนครึ่ง-3 เดือนเท่านั้น แต่ไม่สามารถที่จะผสมพันธุ์ขณะที่ลูกยังไม่อย่านมจะทำให้แม่แฮมสเตอร์นั้นเหนื่อยและไม่ส่งผลดีต่อร่างกายควรจะเว้นไว้สัก 2-3 เดือนเพื่อให้แม่แฮมสเตอร์ได้พักผ่อน
     ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

ชูการ์ไกลเดอร์


ชูการ์ไกลเดอร์ หรือที่บางครั้งเรียกกันว่า จิงโจ้บิน (อังกฤษSugar glider, Australia sugar gliderชื่อวิทยาศาสตร์Petaurus breviceps) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในอันดับสัตว์มีกระเป๋าหน้าท้องจำพวกพอสซั่ม เนื่องจากในตัวเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง ใช้สำหรับให้ลูกอ่อนอยู่อาศัยจนกว่าจะโตได้ที่
ชูการ์ไกลเดอร์เป็นสัตว์ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 6-10 ตัวขึ้นไป และแต่ละฝูงจะมีการกำหนดอาณาเขตของตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูงจะมีการปล่อยกลิ่นเพื่อกำหนดอาณาเขตของตนเอง อายุโดยเฉลี่ย 10-15 ปี ตามธรรมชาติแล้ว ชูการ์ไกลเดอร์จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ ดังนั้นจึงมีเล็บที่แหลมคมใช้เกาะเพื่อกระโดดข้ามจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8A%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

วันจันทร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2558

แพรี่ด็อก


                                                                  แพรี่ด็อก
แพรรีด็อกเป็นสัตว์สังคม จึงมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง มีตัวผู้คุมฝูง 1 ตัว ต่อตัวเมียประมาณ 4 ตัว มีความพร้อมเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 1 ปีขึ้นไป ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายนจะเป็นระยะผสมพันธุ์ ตัวเมียใช้เวลาตั้งท้องนานประมาณ 28-32 วัน (ประมาณ 1 เดือน) ออกลูกครอกละประมาณ 4-8 ตัวต่อปี แพรรีด็อกเกิดใหม่ยังไม่ลืมตาและขนยังไม่ขึ้น กระทั่งเข้าสู่สัปดาห์ที่ 6 หรือประมาณเดือนครึ่ง มีอายุขัยโดยเฉลี่ยในตัวเมียราว 8 ปี ส่วนตัวผู้เฉลี่ยที่ 5 ปี
แพรรีด็อกเป็นสัตว์ที่ขุดโพรงดินใช้เป็นที่อยู่อาศัย ที่ในแต่ละฤดูมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศเป็นอย่างมาก โพรงที่อยู่ใต้ดินจึงต้องทนต่ออุณหภูมิที่สูงที่สุด ต่ำที่สุด ทนน้ำท่วมรวมทั้งไฟไหม้ลามทุ่ง โดยแบ่งออกเป็นห้อง ๆ แต่ละห้องจะอยู่ในระดับความลึกต่างระดับกัน เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกัน เช่น ห้องเลี้ยงลูกอ่อน จะอยู่ในระดับที่มีอุณหภูมิค่อนข้างคงที่ ยังมีห้องใกล้กับพื้นผิวดินที่สามารถใช้หลบบรรดาสัตว์นักล่าจากด้านบนได้อย่างรวดเร็ว และยังมีห้องสำหรับการจัดเก็บเสบียงอาหาร ห้องที่สามารถใช้ฟังเสียงสัตว์นักล่าซึ่งอาจมาป้วนเปี้ยนอยู่นอกโพรง โพรงแพรรีด็อกยังมีการขยายอาณาเขตออกเป็นเมืองที่ครอบคลุมพื้นที่หลายเอเคอร์ โดยมีแพรรีด็อกประมาณ 5-35 ตัวต่อเอเคอร์ ในยุคสมัยก่อนที่มนุษย์จะเข้ามาอาศัยอยู่ในท้องทุ่ง เคยมีแพรรีด็อกครอบครองดินแดนอยู่ก่อนอย่างมากมายมหาศาล หนึ่งในเมืองของแพรรีด็อกที่พบในรัฐเท็กซัสเมื่อปี ค.ศ. 1900 ครอบคลุมพื้นที่ถึง 64,000 ตารางกิโลเมตร และมีจำนวนประชากรแพรรีด็อกอยู่ถึงประมาณ 400 ล้านตัว[2]
มีพฤติกรรมทางสังคมที่มักออกมาทักทายกันเองในฝูง ซึ่งเวลาที่เจอกันครั้งแรกจะทักทายกันด้วยการยิงฟันและแตะกันคล้ายกับการโอบกอดหรือจูบ จากนั้นก็จะช่วยกันทำความสะอาดขนให้กันและกัน
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%AD%E0%B8%81

เฟอเรท

                                                                  
                                      เฟอเรท
       เฟอเรทเป็นชนิดย่อยของโพลแคตยุโรป ที่เป็นวีเซลหรือเพียงพอนที่พบได้ในทวีปยุโรป จากการตรวจสอบทางดีเอ็นเอพบว่าเฟร์ริตนั้นถูกมนุษย์เลี้ยงกันมาถึง 2,500 ปีแล้ว โดยในประวัติศาสตร์ จะมีเฟร์ริตปรากฏตามที่ต่าง ๆ อาทิ ปรากฏในภาพวาดของลีโอนาร์โด ดา วินชี หรือเป็นสัตว์เลี้ยงของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 แห่งจักรวรรดิอังกฤษ และยังเป็นสัตว์ที่ใช้ในการวางสายเคเบิลในการถ่ายทอดพระราชพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าฟ้าชายชาลส์ กับเลดี้ไดอานา ในปี ค.ศ. 1981 ด้ว เฟอเรทมีความยาวประมาณ 20 นิ้ว (51 เซนติเมตร) และความยาวหาง 5 นิ้ว (13 เซนติเมตร) น้ำหนักประมาณ 1.5–4 ปอนด์ (0.7–2 กิโลกรัม) อายุขัยโดยเฉลี่ย 7-10 ปี ตัวผู้นั้นจะมีความยาวมากกว่าตัวเมีย
ในสหรัฐอเมริกา เฟร์ริตถูกนำเข้ามาในฐานะของสัตว์ที่ฝึกไว้สำหรับล่ากระต่าย ซึ่งเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเฟอเรทหรือวีเซลอยู่แล้ว ที่ล่าสัตว์ขนาดเล็กตามโพรงดิน เช่น หนู, กระต่าย เป็นอาหาร โดยการมุดเข้าไปลากออกมาถึงในโพรง
เฟอเรทนับเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีจำนวนชิ้นกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลก โดยมีกระดูกที่ต้นคอถึง 7 ชิ้น และสะโพก 6 ชิ้น นั่นจึงทำให้เฟร์ริตสามารถที่จะมุดหรือลอดไปตามโพรงหรือรูเรี้ยวต่าง ๆ ได้อย่างยืดหยุ่น คล่องแคล่ว 
ที่มา:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%95